banner copy 6
banner copy 4
banner copy 5
previous arrow
next arrow

          บริษัท เชียงใหม่ออร์แกนิควิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กำเนิดจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนที่มุ่งผนึกกลุ่มเกษตรอินทรีย์ให้เกิดสมรรถนะสามารถ สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดกลไกความร่วมมือระหว่างภาคการเกษตรกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเชื่อมโยงภาคการผลิตสู่การตลาด

          ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (พ.ศ.2560 – 2564) เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศในระย: 5 ปี ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการเกษตรตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติด้วย โดยกำหนดเพื่อแนวทางของประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้า และการบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล” พัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์ให้เป็นระบบพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาด และการบริการให้เข้มแข็งพึ่งพากันอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และพัฒนามาตรฐานและระบบตรวจสอบรับรองเกษตรอินรีย์ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของสินค้าและบธิการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล

          แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (IOCAL ECONOMY DEVELOPMENT) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเปลี่ยนเศรษฐกิจภูมิภาคให้เป็นระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนโครงสร้างทางการค้าให้เอื้อต่อความเจริญเติบโตของท้องถิ่นการพัฒนาเกษตรกรเติมเต็มทั้งองค์ความรู้ การบริหารจัดการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้เศรษฐกิจในประเทศมีความยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC QUALITY PRODUCT) ที่มีคุณภาพกลางน้ำ คือ แปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่า (VALUE ADDED) และการมีระบบการค้าที่เข้มแข็ง เป็นธรรม และปลายน้ำ คือ การมีธุรกิจแบบใหม่ เช่น SOCIAL ENTERPRISES แล: STARTUP

องค์ประกอบของโมเดลบน อธิบายได้ ดังนี้

          1. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่เป็นหน่วยปฏิบัติการในจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นมาจากการรวมตัวของเกษตรกรที่ทำอินทรีย์อยู่แล้วหรือเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนไปสู่อินทรีย์ เชื่อมโยงเครือข่ายภายในระดับประเทศผ่านทางสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย และเชื่อมโยงกับหน่วยงานในจังหวัด ในบทบาทภารกิจที่จะมีหนุนเสริมในกระบวนการพัฒนาเกษตรกร เชื่อมโยงสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนของจังหวัดต่างๆ ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 20 จังหวัด โดยการรวบรวมเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว และเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนจากเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุน หนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ

          2. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่จัดตั้งกลไก คณะทำงานตรวจแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนรวม SDGsPGS เพื่อรับสมัครเกษตรกรที่มีความรู้ ความสามารถด้านเกษตรอินทรีย์ เช้ารับการบ่มเพาะ เพื่อปรับทัศนคติ (ATTITUDE) เพิ่มความรู้ (KNOWLEDGE) เพิ่มทักษะ (SKILL) ให้กับเกษตรกรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

          3. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่จัดตั้งกลไก คณะทำงานระบบฐานข้อมูลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เพื่อทำหน้าที่นำข้อมูลจากการลงพื้นที่ตรวจประเมินแปลงของเกษตรกรตามข้อ 2 เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลเครือข่ายเกษตรอินทรีย์

          4. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่จัดตั้ง คณะทำงานกลั่นกรองข้อมูลตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลที่คณะทำงานผู้ตรวจแปลงได้บันทึกลงฐานข้อมูล ก่อนจะมีการประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ระดับจังหวัด

          5. สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่จัดตั้ง คณะกรรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เพื่อทำหน้าที่ให้การรับรองแปลงเกษตรที่ผ่านการตรวจแปลง และการกลั่นกรอง และอนุญาตให้ใช้ หนังสือสำคัญรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ดังตัวอย่างหนังสือรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์

          6. VERIFICATION กับการขยายขอบเขตรับรองครอบคลุม การแปรรูป กระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS) โดยสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับมหาวิทลัยราชภัฎเชียงใหม่ เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรที่ 3 (THIRD PARTY) ในการทดสอบระบบ และยังได้ขยายขอบเขตการรับรองครอบคลุมไปที่กระบวนการคัดล้างทำความสะอาด ตากแห้ง แบ่งบรรจุและการแปรรูปอาหารอินทรีย์ จากผลผลิตในกลุ่มผักและผลไม้ ใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นโดยภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร ครธเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ที่ยึดกรอบมาตรฐาน IFOAM แลพะมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เล่น 1 การผลิต แปรรูป แสดงฉลากและจำหน่วยผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1-2552)

                     จัดตั้ง บริษัท เชียงใหม่ออร์แกนิค วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นรูปแบบของบริษัทเพื่อสังคม มีหน้าที่ในการซื้อขายสินค้าเกษตรอินทรีย์กับผู้ประกอบการที่ต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ ทั้งนี้รูปแบบของการบริหารจัดกาบริษัทจะดำเนินการภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2562 โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมกายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGSPGS ในหลักการ “พื้นที่เป็นตัวตั้ง จังหวัดจัดการตนเอง รัฐหนุนเสริม” โดยได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดแรก จำนวน 21 คน โดยได้แบ่งบทบาทหน้าที่ดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบันได้ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน และเห็นสมควรที่จะมีการปรับโครงสร้างให้มีความเหมาะสมกับบทบาท ภารกิจที่มีการขยายตัวมากขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนและปรับโครงสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่โดยมีผู้เข้าประชุมจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นกรรมการชุดเดิมและผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมติที่ประชุมได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามรายนามดังต่อไปนี้

        ที่ปรึกษา

    • ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ
    • นายเชษฐา สุขประเสริฐ
    • นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ
    • ผศ.อัตถ์ อัจฉริยมนตรี
    • นายสันดิโรจน์ เกียรติคิริโรจน์
    • ตร.ประทุม สุริยา
    • ตร.ปัญญา ผลธัญญา
    • นางอรุณี ชวนไชยสิทธิ์

เลขาธิการสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย(TSATA -ทีซาต้า)

ประธานสหพันธ์กษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

นักวิชาการอิสระต้านเกษตรอินทรีย์

ปราชญ์เกษตรอินทรีย์ อำเภอ.แม่แดง

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สันกำแพง

สวนผักผลไม้ปลอดภัยแม่คุณหมอ

คณะกรรมการสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่

1. นายอัฒมาส ชนะ

2. รศ.ดร.นิ่มอนงค์ งามประภาสม

3. นางแพรวพรรณ ดีพลภักดิ์

4. นายสำราญ ปัญญา

5. นายพศิน อุดมพันธุ์

6. นายสำเริง หรั่งนางรอง

7. นางสุพิศ เนตรคำยวง

8. นายกมล ปู่หลู่

9. นางวัชรี ชัยชมพู

10 นางมาลินี วรรณวงศ์

11 นายประชัย ใจยะ

12. นายธัชชัย กิจอิสระทำ

13. นายอังคาร สีลาเม

14. นางพวงเพชร กระจ่างพันธ์

15. นายบุญเสริม ไคร้งาม

16. นายพีรเซษฐ์ เชิดสถิรกุล

17. นายกมล เขื่อนจินดาวงค์

18. นางกมลาภรณ์ เสราดี

19. นายสุนทร วาณิชย์มงคล

20. นายสนธิชัย รินยานะ

21. นายบุญรัตน์ มหิตธิ

22. นางสาวปรัศนียาภรณ์ อาศีรพัฒน์

ประธานกรรมการ

รองประธาน

รองประธาน

รองประธาน

เลขาธิการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

ประธานคณะทำงานระบบฐานข้อมูล

เลขานุการ

ผู้ช่วยเลขานุการ

ประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร

ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร

ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร

ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร

กรรมการบริหารบริษัทเชียงใหม่ออร์แกนิควิสาหกิจเพื่อสังคม

1. นางสาวนฤมล ทักษอุดม

2. นายอัฒมาส ขนะ

3. นายพศิน อุดมพันธุ์

4. นายพิรเซษฐ์ เชิดสถิรกุล

กรรมการผู้จัดการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ