หลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
วัตถุประสงค์
ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PARTICIPATORY GUARANTEE SYSTEMS: PGS) เป็นกระบวนการรับรอง เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยเรียนรู้ร่วมกันในเรื่อเกษตรอินทรีย์ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการพัฒนา การผลิตให้เข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น ด้วยการพึ่งตนเอง สร้างกลุ่มบนพื้นฐานความพอดี พอเพียง เรียนรู้แบ่งปัน และการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณธรรม ทำให้เกษตรอินทรีย์ขยายผลได้มากขึ้น
“ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS เป็นระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยชุมชน การมีส่วนร่วม อย่างเข้มแข็ง และต่อเนื่องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน ภายใต้หลักการพื้นฐาน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเป็นครือข่ายทางสังคม แลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” (IFOAM) PGS เป็นระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ ของเกษตรกรรายย่อยให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการบริโภคในประเทศ ด้วยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันในการจัดระบบการรับรองอย่างน่าเชื่อถือ PGS ที่เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและผู้บริโภค
1. PGS เป็นกระบวนการทางสังคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มหลัก มีโครงสร้างของระบบ PGร ดังนี้
1.1 กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ PGS (กลุ่มผู้ผลิต PGS) เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่มีการผลิต รูปแบบคล้ายกัน อยู่ใกล้เคียงกัน มารวมกลุ่มทำกิจกรรมเกษตรอินทรีย์
และต้องการมีใบรับรอง บทบาทหน้าที่หลัก คือ การจัดการระบบและการขับเคลื่อนการตรวจและตัดสินให้การรับรอง
1.2 ผู้สนับสนุนในพื้นที่อาจเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนหรือภาคประชาชน มีบทบาทหน้าที่เป็นที่ปรึกษา อำนวยความสะดวก ประสานงาน สนับสนุนงบประมาณ ช่วยจัดทำฐาน
ข้อมูลกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่าย
1.3 ผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการ มีบทบาทหนุนเสริมกลุ่มผู้ผลิต เช่น ร่วมจัดทำตลาด ร่วมลงพื้นที่ และเรียนรู้ร่วมกัน
1.4 องค์กรจัดระบบ PGS มีหน้าที่จัดกระบวนการรับรอง เช่น การจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติ PGS จัดทำ เอกสารกลางที่จำเป็น เช่น แบบฟอร์มต่างๆ จัดทำหลักสูตรฝึก
อบรม ตัดสินยอมรับการขึ้นทะเบียนกลุ่ม ตรวจสอบ และติดตามการใช้เครื่องหมายการรับรอง และประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงเครือข่ายรับรู้ในวงกว้าง
4. ลักษณะสำคัญของกลุ่ม PGS กลุ่มผู้ผลิต PGS เป็นองค์กรฐานราก (Grass root organization)
เกิดจากการรวมกลุ่มผู้ผลิตและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่ต้องการพัฒนาเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์สร้างการเรียนรู้และความเข้มแข็งกับกลุ่ม และเพิ่มช่องทาง การตลาด จะต้องมีการวางระบบการควบคุมสมาชิกร่วมกันตั้งแต่เริ่มโครงการ เพื่อใช้เป็นคู่มือปฏิบัติของกลุ่ม แสดงความโปร่งใส เป็นกลาง และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 3 PGS เป็นกระบวนการทางสังคมที่ไม่มีสูตรสำเร็จ มีความเฉพาะของแต่ละพื้นที่ เป็นไปตามวิถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจสังคมของชุมชนนั้นๆ กรอบการปฏิบัติอาจแตกต่างกัน แต่ภายใต้หลักการเดียวกัน และสามารถควบคุมสมาชิกให้อยู่ในกฎ กติกาได้ โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมการจัดระบบ ดังต่อไปนี้
4.1 ข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม กำหนดเป็นภาษาสั้นๆ ง่ายต่อความเข้าใจของเกษตรกร โดยอ้างอิงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ตามข้อ 2.2) กลุ่ม PGS อาจกำหนดข้อ
กำหนดของกลุ่มเพิ่มเติมจากมาตรฐาน อ้างอิงตามบริบทสังคมหรือของกลุ่ม เช่น ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาตรฐาคุณธรรม
4.2 มีระบบการจัดการเอกสารกลุ่มที่เข้าถึงได้โดยกลุ่มจัดทำเอกสารตามข้อ 1-5, 8 และสมาชิกแต่ละราย จัดทำเอกสารตามข้อ 6-7 ดังต่อไปนี้
1) โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีบัญชีรายชื่อสมาชิก
2) กฎ กติกา กลไกการรับสมัครสมาชิก เช่น การสัมภาษณ์ การผ่านการอบรม การเรียนรู้ร่วมกับกลุ่ม
3) กำหนดการประชุมอย่างสม่ำเสมอ
4) กำหนดรอบการตรวจฟาร์มและการตัดสินให้การรับรอง
5) กลไกการจัดการสมาชิกที่ทำผิดกฎ หรือบทลงโทษ ในกรณีต่างๆ
6) สมาชิกแต่ละราย เขียนใบสมัคร และคำสัญญาที่ปฏิบัติตามมาตรฐานของกลุ่ม และตามกฎ กติกาของกลุ่ม
7) สมาชิกแต่ละราย เขียนแผนและวิธีการผลิต เช่น แผนที่ แผนผังฟาร์ม ขนาดพื้นที่ ประวัติฟาร์ม ชนิดพืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ปัจจัยการผลิต ปริมาณผลผลิตต่อปี
8) รายงานผลการตรวจฟาร์มประจำปี
4.3 มีผู้ตรวจประเมินฟาร์มมีสถานะเป็นเกษตรกรที่ทำเกษตรอินรีย์ด้วยกัน (PEER REVIEW) เป็นหลัก และต้องได้รับการฝึกอบรม เพิ่มประสบการณ์ และพัฒนาตนเอง
อย่างต่อเนื่อง หากในปีแรกๆ ยังไม่มีความชำนาญ อาจเชิญบุคคลภายนอกที่มีความรู้เรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการตรวจประเมินมาเป็นที่ปรึกษาได้
4.4 มีกลใกในการจัดการความโปร่งใส ความเป็นกลาง และไม่มีผลประยชน์ทับซ้อน เช่น ไม่ตรวจฟาร์มตนเอง หรือญาติพี่น้อง การเชิญเครือข่ายกลุ่มอื่น
ร่วมตรวจข้ามกลุ่ม สมาชิกผู้ผลิต และผู้บริโภค ร่วมตรวจประเมินได้
4.5 ฟาร์มทุกฟาร์มต้องได้รับการตรวจประเมินตามรอบที่ได้ตกลงกัน อย่างน้อยปีละครั้ง ขึ้นอยู่กับกาประเมินความเสี่ยง และรอบการผลิต
4.6 การตรวจฟาร์มให้ใช้รายการตรวจประเมินฟาร์ม ที่ยึดตามข้กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กลุ่มใช้อ้างอิง
4.7 การตัดสินให้ได้รับการรับรอง โดยการนำผลการตรวจทุกฟาร์มเข้าที่ประชุมกลุ่มวิเคราะห์ร่วมกัน กลุ่มผู้ผลิตลงมติร่วมกันทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
4.8 ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับหรือตามสอบได้
5. การขึ้นทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง และการจัดการใช้ตราสัญลักษณ์ logo seal
องค์กรจัดระบบต้องมีกลไกกำหนดการขึ้นทะเบียนผู้ได้รับการรับรอง การติดตราสัญลักษณ์กำหนด เงื่อนไขการใช้ การพักใช้และการเพิกถอน
6. กลไกการยอมรับ
6.1 สร้างกลไกการยอมรับร่วมกัน เช่น SELF-EVALUATION เป็นแนวทางตรวจกระบวนการกลุ่มและ ประเมินองค์กรจัดระบบตามหลักการ PGS
6.2 การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้